วิศวกรเครื่องกล งานซ่อมบำรุง โรงงานปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน ข้อคิดจากหนังสือและการใช้ชีวิต
วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558
เวลาที่ไม่เท่ากัน
ในชีวิตของคนทำงานประจำเริ่มงาน 8.00นาฬิกาและเลิกงานเวลา 17.00นาฬิกา เราทุกคนเข้าใจตรงกันว่า ทำงานต่อวัน 8 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ลึกลงไปภายในแต่ละคน ความรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วหรือผ่านไปช้าไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ถ้าโลกนี้ไม่มีการคิดนาฬิกาเพื่อบอกเวลาแล้ว คนทุกคนจะรู้สึกว่ามีเวลาที่ไม่เท่ากันเช่น บางคนอาจรู้สึกว่าแปล๊บเดียวเย็นแล้ว บางคนเบื่องานก็อาจจะรู้สึกว่าเวลาทำไมมันนานมากกว่าจะเลิกงาน ทำให้คิดว่า เวลาคือความรู้สึกของตัวเรา เมื่อไม่มีเวลา เราก็ไม่มีอายุ เราไม่จำเป็นต้องนับอายุเรา
คำว่า "ทำวันนี้ให้ดีที่สุด" ในแนวคิดอีกมุมหนึ่งจะบอกเราว่า เวลาไม่มี อายุไม่มี เรามีอายุคือตอนนี้เท่านั้น นี่คืออายุของเรา คือตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะที่เรากำลังอ่านบทความนี้เท่านั้น พรุ่งนี้อย่าไปคิด เมื่อวานนี้อย่าไปคิด เพราะมันไม่มีอยู่จริง เหมือนกับเราคิดตัวเลขเพื่อบอกเวลาเท่านั้นเอง...
ที่มารูป : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/b/b1/Hourglass2.jpg/250px-Hourglass2.jpg
วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558
หายใจช้าๆลงซิ
เมื่อวานนี้มีการประชุมเรื่องการวางแผน Road Map งานในปี 2015 ซึ่งมีงานอยู่หนึ่งงานซึ่งวิศวกรที่ดูแลงานนี้บอกออกมาในที่ประชุมว่าเวลาไม่พอ ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในปีนี้ได้ ซึ่งก็เกิดคำถามตามมาว่ายังไม่ได้ลองทำดูแล้วก็ประเมินว่าทำไม่ได้แล้ว ซึ่งน่าจะใช่คำตอบที่ดีนัก จริงๆแล้วควรจะตอบว่าทำได้แต่ต้องมีอะไรเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อช่วยให้งานที่ได้รับมอบหมายสามารถทำได้สำเร็จ
ยกตัวอย่างเช่น ต้องหาคนคุมงานเพิ่มขึ้น, เร่งขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง, ควรหาผู้รับเหมาเพิ่ม หรือสุดท้ายไม่ทันจริงๆก็ขอยึดระยะเวลาทำงานออกไป ซึ่งเราก็ทำเต็มหน้าที่แล้วก็ต้องอยู่กลับความเป็นจริง
แล้วเรื่องนี้มันเกี่ยวอะไรกับหัวข้อที่ตั้ง จริงๆแล้วอยากเขียนเรื่องเวลามากกว่า บางคนอาจจะเคยได้ยินว่าเวลาแต่ละคนไม่เท่ากัน จะขอยกตัวอย่าง ถ้าเราไม่มีนาฬิกาเพื่อกำหนดเวลา เราจะพบว่าคนสองคนที่ทำงานความรู้สึกว่า "นาน" กับ "ไม่นาน" นั้นต่างกัน ถ้าเราทำงานที่ชอบและเพลินๆหน่อย เราจะพบว่าเวลาผ่านไปเร็วมาก แต่ถ้าเมื่อไหร่เราทำงานที่เราไม่ชอบหรือรู้สึกเบื่อๆ เวลาจะผ่านไปช้ามาก จะเห็นว่าเวลาเป็นเหมือนเส้นโค้งหักเห ซึ่งแต่ละคนไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับ "จิตใจ" "จิตสำนึก" "ความคิด" ของคนแต่ละคน
ในการทำงานทำไมต้อง หายใจช้าๆ คนที่ตั้งใจทำงานจะรู็สึกว่าเวลาทำงานนั้นน้อยเพราะอาจจะคิดเรื่องงานมากเป็นพิเศษ และเมื่อปริมาณงานมากๆ ก็จะทำให้ตัวเองคิดว่าเวลาไม่พอต่อการทำงาน การหายใจช้าๆเปรียบเสมือนการกลับมาดูที่ตัวเราเอง สิ่งต่างที่อยู่รอบตัวเรา ทีมงานอื่นๆที่เป็นตัวช่วยให้เราทำงานได้ตามเป้าหมายและมีเวลาเพียงพอต่องานนั้น จะบอกว่าการทำงานจริงๆ "อย่าหายใจเร็วเท่านั้นเอง"
วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557
เนยแข็งในโรงงาน
เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมามีพนักงานในส่วนงานตรวจสอบได้ปีนนั่งร้านเพื่อไปตรวจสอบงาน Pipe ในขณะที่ขึ้นไปบนนั่งร้านยืน อยู่บนนั่งได้ใช้เข็มขัดเพื่อคล้องกับราวซึ่งไม่แข็งแรง และขณะทำงานอยู่เกิดพลัดตกลงมา ได้รับบาดเจ็บ
เหตุการณ์นี้ถือเป็นความโชคดีของพนักงานเพราะว่านั่งร้านไม่สูงมาก ถ้าสูงกว่านี้อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวหัวหน้าส่วนงานตรวจสอบได้นำเรื่องนี้มาพูดให้แง่คิดในที่ประชุม และได้พูดถึง ทฤษฎีการเกิดอุบัติเหตุ สวิสชีสโมเดล Swiss Cheese Model
Swiss Cheese Model
อุบัติเหตในการทำงานในโรงงานปิโตรเคมีและการกลั่น มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะที่ทำงาน ซึ่งการที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าเหตุการณ์ทุกอย่างมันต้องวิ่งผ่านช่องว่างของเนยแข็งทั้งหมด นั่นหมายถึง สูญเสียชีวิต แต่ถ้าไปติดก้อนใดก้อนหนึ่งหรือก้อนรองสุดท้าย นั่นหมายถึง เกือบสูญเสียชีวิต อาจจะได้รับบาดเจ็บแต่ไม่ถึงตาย ซึ่งการเกือบสูญเสียชีวิต หรือการเกือบเกิดอุบัติเหตุณ์ ซึ่งเราคิดว่าเราโชคดีที่รอด, เราโชคดีที่ไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่ในทางทฤษฎีการเกิดอุบัติเหตุ เราอาจจะใส่เครื่องป้องกันหรือเตรียมระบบได้ถูกต้องตามกฏระเบียบของโรงงาน ซึ่งมันหมายถึงเราปิดช่องว่างของเนยแข็งก้อนใดก้อนหนึ่ง ทำให้อุบัติเหตุและความสูญเสียไม่สามารถผ่านทะลุไปได้หมด
ในชีวิตเราทั้งในที่บ้าน ที่ทำงาน สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เราจะต้องปิดหรือขยับก้อนเนยแข็งก้อนใดก้อนหนึ่งเพื่อไปปิดช่อง เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ทะลุมาได้นั้นหมายถึง ตัวเราต้องปิดเอง ตัวเราต้องไม่ประมาทเอง และคอยเตือนเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ คนในครอบครัวด้วยว่าต้องไม่ประมาท สิ่งไหนคิดว่าจะเกิดอุบัติเหตุ ก็ป้องกันก่อนที่จะเกิด
ที่มารูป : http://en.wikipedia.org/wiki/Swiss_cheese_model
ที่มารูป : http://en.wikipedia.org/wiki/Swiss_cheese_model
วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557
การควบคุมตนเอง
"สมอง" ของคนเรา ก่อให้เกิดพลังงานที่ลี้ลับที่เรียกว่า "ความคิด" เบื้องหลังซึ่งเป็นแรงกระตุ้นแรงผลักดันให้ "สมองก่อให้เกิดความคิด" ของทุกคนมาจากสองสิ่งที่สำคัญคือ สิ่งแรกคือความเห็นชอบด้วยตัวตนท่านเอง และสิ่งสองคือการเห็นชอบการเสนอแนะ
เป็นความจริงที่เราทุกคนจะเป็นผู้กำหนด แรงกระตุ้นแรงผลักดันของสมอง ทำให้เกิด "ความคิด" จากความเห็นชอบ "ด้วยตัวท่านเอง" หรือ "ยอมรับการเสนอแนะ"
ปัจจุบันคนเราส่วนใหญ่ยอมรับและสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว สื่อสิ่งต่างๆ ซึ่งจะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อน เพราะว่าการยอมรับการเสนอแนะต่างๆ จะเป็นแรงกระตุ้นแรงผลักดัน ให้ "สมอง" ก่อให้เกิดเป็น "ความคิด" ซึ่งถ้าเรายอมรับให้เหตุการณ์ต่างๆ ความอิจฉา การนินทา ปัญหาในงาน ข่าวๆ แสดงว่าเรายอมรับการเสนอแนะ ซึ่งทำให้สมอง ก่อให้เกิดความคิดที่เราไม่สามารถควบคุมได้
ความคิด เป็นเพียงสิ่งเดียวที่เราสามารถควบคุมได้ ดังนั้นการ "ควบคุมตนเอง" เป็นสิ่งเดียวกับการ "ควบคุมความคิด"
เป็นความจริงที่เราทุกคนจะเป็นผู้กำหนด แรงกระตุ้นแรงผลักดันของสมอง ทำให้เกิด "ความคิด" จากความเห็นชอบ "ด้วยตัวท่านเอง" หรือ "ยอมรับการเสนอแนะ"
ปัจจุบันคนเราส่วนใหญ่ยอมรับและสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว สื่อสิ่งต่างๆ ซึ่งจะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อน เพราะว่าการยอมรับการเสนอแนะต่างๆ จะเป็นแรงกระตุ้นแรงผลักดัน ให้ "สมอง" ก่อให้เกิดเป็น "ความคิด" ซึ่งถ้าเรายอมรับให้เหตุการณ์ต่างๆ ความอิจฉา การนินทา ปัญหาในงาน ข่าวๆ แสดงว่าเรายอมรับการเสนอแนะ ซึ่งทำให้สมอง ก่อให้เกิดความคิดที่เราไม่สามารถควบคุมได้
ความคิด เป็นเพียงสิ่งเดียวที่เราสามารถควบคุมได้ ดังนั้นการ "ควบคุมตนเอง" เป็นสิ่งเดียวกับการ "ควบคุมความคิด"
วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557
การลาออกของโฟร์แมน นำเงินปันผลมาใช้ในชีวิตและการลงทุนเล็กๆน้อย
เช้าวันที่ 11 ธันวาคม 2557 มีโฟร์แมนท่านหนึ่งเดินเข้ามาหาผมและบอกว่าจะมาบอกลา ทำงานวันสุดท้ายคือวันนี้และหลังจากนี้ก็ไม่ได้มาแล้วเพราะใช้วันลาพักร้อนจนถึงปลายปี 2557 และรับเงินเดือนเดือนธันวาคม และลาพักร้อนของปี 2558 จนถึงปลายเดือนมกราคม 2558 เงินเดือนมกราคมเป็นเดือนสุดท้ายของการเป็นอาชีพลูกจ้าง หลังจากนี้ไปพี่คนนี้ก็จะกลับบ้านที่จังหวัดลำปาง เพื่อกลับไปอยู่ที่บ้านประกอบอาชีพเลี้ยงหมูขายและใช้ชีวิตที่เรียบง่ายอยู่ตามบ้านนอก ผมก็ตกใจเพราะว่าพี่ไม่เคยบอกเรื่องนี้กับผมมาก่อน ซึ่งเมื่อก่อนตอนทำงาน ผมกับพี่ก็ได้คุยแลกเปลี่ยนเรื่องหุ้น การลงทุน และเรื่องการใช้จ่ายเงินกันเป็นประจำ ซึ่งผมก็ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดของผมให้แกฟังว่า การลาออกของพนักงาน ผมเห็นหลายคนแล้วลาออกไปรับเงินก้อนที่บริษัทให้ กลับบ้านไปทำธุรกิจของตัวเอง แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอดต้องกลับมาทำงานเป็นลูกจ้างเหมือนเดิม แต่ไม่ได้อยู่บริษัทเดิมแล้วเพราะว่าอายุเรามากแล้ว จะต้องไปอยู่บริษัทผู้รับเหมา ทำงานหนักกว่าที่เคยทำกับบริษัทใหญ่ ได้เงินเดือนน้อยลง ลำบากกว่าเดิมเยอะ ในแนวคิดผมการลาออกเราได้เงินมาหนึ่งก้อน เงินก้อนนี้จะไม่ถูกนำไปลงทุนที่มีความเสี่ยงในการลงทุนเช่นไปเปิดร้านกาแฟ หรือลงทุนค้าขายทั้งสิ้น เงินก้อนนี้จะต้องนำมาลงทุนที่ได้รับเงินปันผลสม่ำเสมอ เช่นฝากธนาคาร ซื้อกองทุน หรือซื้อหุ้นปันผล เป็นต้น หลังจากนั้นเราจะเอาเงินปันผลนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือลงทุนต่อก็ได้ ผมจะไม่นำเงินก้อนที่ได้จากการลาออกไปลงทุนอย่างอื่นเด็ดขาด
และการใช้ชีวิตที่ไม่ยึดติดเช่นการทำงานในบริษัทใหญ่มีสวัสดิการ มีเงินเดือนให้สูง แต่เมื่อเราลาออกเราไม่มีเงินเดือน ดังนั้นเราจะต้องไม่ยึดติดกับการใช้ชีวิตในอดีต ใช้ชีวิตแบบพอเพียง นำเงินปันผลมาใช้ในชีวิตและการลงทุนเล็กๆน้อย
และการใช้ชีวิตที่ไม่ยึดติดเช่นการทำงานในบริษัทใหญ่มีสวัสดิการ มีเงินเดือนให้สูง แต่เมื่อเราลาออกเราไม่มีเงินเดือน ดังนั้นเราจะต้องไม่ยึดติดกับการใช้ชีวิตในอดีต ใช้ชีวิตแบบพอเพียง นำเงินปันผลมาใช้ในชีวิตและการลงทุนเล็กๆน้อย
วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)